NICE FOR BUSINESS ‘เป็นมิตรที่ดีต่อธุรกิจ’
NICE FOR BUSINESS ‘เป็นมิตรที่ดีต่อธุรกิจ’สร้างเมืองที่คนอยู่ดีกินดี ด้วยโมเดลธุรกิจสร้างสรรค์เชื่อว่าพ่อค้าแม่ค้าทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่าโลเคชันเอื้ออำนวยต่อการค้าขายเป็นอย่างมาก รายได้ดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับพื้นที่เป็นหลัก นั่นเพราะพื้นที่เกี่ยวพันกับเส้นทางรถและคนเดินทาง วิถีชีวิตของชุมชนรอบข้าง รวมถึงรายได้เฉลี่ยรวม นับได้ว่าเมืองเป็นปัจจัยในเรื่องของการก่อตั้งและพัฒนาเศรษฐกิจน้อยใหญ่เป็นอย่างมาก การที่เราส่งเสริมให้เมืองสามารถทำมาค้าขายได้ดี สร้างมูลค่าให้เกิดขึ้นในชุมชนได้ ก็ย่อมทำให้ทุกคนสามารถมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีเงินในกระเป๋ากันมากยิ่งขึ้น โจทย์ที่น่าสนใจของงาน Bangkok Design Week 2023 ธีม urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี ปีนี้จึงเป็นที่น่าสนใจอย่างมากว่าเราจะสร้างเมืองที่ดีต่อธุรกิจและสามารถผลักดันชีวิตของคนในกรุงเทพฯ ของเราให้อยู่ดีกินดีมากขึ้นอย่างไรได้บ้าง โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการกระจายรายได้ให้ไปสู่มือของคนตัวเล็กๆ หรือธุรกิจชาวบ้านอย่าง SME กันมากขึ้น วันนี้เรานำตัวอย่างกลุ่มคนในประเทศไทยที่เคลื่อนไหวและผลักดันการต่อยอดไอเดียธุรกิจมาให้ชมกันอีกเช่นเคย มาลองดูกันว่าใครมีไอเดียน่าสนใจและน่าศึกษาบ้าง ธุรกิจแบบรวมกัน-เราอยู่หลายธุรกิจใหญ่ๆ จะเน้นที่การควบรวมหรือการกำจัดคู่ต่อสู้ทางธุรกิจให้น้อยลง เพื่อให้ธุรกิจของตัวเองมีความเข้มแข็งและยิ่งใหญ่ขึ้น แต่ปัจจุบันการรวมตัวของคนตัวเล็กๆ ให้เกิดเป็นภาคีเครือข่ายที่จับมือทำงานร่วมกันก็สามารถทำให้ธุรกิจเติบโตและเข้มแข็งไปด้วยกันได้ เรียกว่าถึงจะค่อยๆ เริ่มไปด้วยกัน แต่ก็ไม่ต้องมีใครเจ็บตัวเสียน้ำตา อาศัยการประคับประคองให้เกิดรอยยิ้มกันถ้วนหน้าอย่างเพจ ‘ทำ มา หา กิน’ ก็เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการรายเล็กในอุตสาหกรรมแฟชั่น เป็นคนรุ่นใหม่ที่ตัดสินใจทำลายคำว่า “อยากประสบความสำเร็จต้องเก็บวิธีหากินให้เป็นความลับ” เพจนี้มีความเชื่อว่าพอกันทีกับการปิดบังความลับธุรกิจเพราะหวังกำจัดคู่ต่อสู้ การหันมากระจายความรู้และชี้ช่องทางวัสดุในการทำสินค้าต่างๆ ต่างหากที่จะช่วยให้ทุกคนประสบความสำเร็จได้ ดังนั้นในหน้าเพจจึงเต็มไปด้วยความรู้และเทคนิคการทำธุรกิจแบบอัดแน่น ไม่ว่าจะเป็น ผ้า วัสดุอุปกรณ์ และการออกแบบลวดลาย เพื่อให้คนที่ติดตามเกิดความรู้และความเชี่ยวชาญสามารถไปสร้างเครือข่ายผู้ผลิตที่เข้มแข็ง และผลักดันให้เกิดการจ้างงานอย่างเป็นธรรมได้มากขึ้นในสังคม เจ้าของผู้ประกอบการรายใหม่ไม่ต้องแห่แหนไปซื้อหรือรับบริการเฉพาะเจ้าใหญ่ๆ ที่รู้จักกันดีในอุตสาหกรรมที่อาจทำให้ผู้ค้าปลีกรายย่อยตัวเล็กๆ ตายได้ การเคลื่อนไหวครั้งนี้จึงส่งผลบวกให้เกิดการขยายตัวในอุตสาหกรรมภาพใหญ่ที่คนตัวเล็กได้ผลประโยชน์มากขึ้นอุตสาหกรรมแฟชั่นไปแล้ว มาถึงอุตสาหกรรมอาหารบ้าง ในปัจจุบันที่ยิ่งการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันเกิดขึ้น โอกาสในการเติบโตของร้านอาหารทั่วไปก็ยิ่งมากขึ้น แต่ร้านตามสั่งในชุมชนกลับเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบไม่น้อยดังนั้นหนึ่งในกลุ่มคนที่ตัดสินใจแก้ไขปัญหานี้คือ ตามสั่ง-ตามส่ง ละแวกลาดพร้าว 101 ที่คิดค่าขนส่งเท่านั่งวิน คิดค่าอาหารเท่ากินที่ร้าน เป็นแพลตฟอร์มดิลิเวอรีรูปแบบใหม่ที่เกิดจากการรวมเครือข่ายระหว่างคนในชุมชน ร้านค้าตามสั่งต่างๆ และกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างเข้าด้วยกัน ทั้งหมดก็เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้กับคนในชุมชนแบบแนวคิดเศรษฐกิจสมานฉันท์พร้อมๆ กับบริการความอร่อยนั่นเอง ธุรกิจที่แก้ปัญหาเมือง พร้อมๆ กับการแก้ปัญหาคนตราบใดที่มีปัญหา คนย่อมต้องการทางออก ไอเดียแบบนี้ทำให้เกิดโมเดลธุรกิจแบบใหม่ที่น่าสนใจ คือการสร้างธุรกิจที่ช่วยลดปัญหาของเมืองไปพร้อมๆ กับการแก้ปัญหาที่ผู้คนต้องเผชิญอยู่ ชูมณี-รถซักผ้าเคลื่อนที่ เป็นหนึ่งในธุรกิจที่เกิดขึ้นเพราะแนวคิดลักษณะนี้ จริงๆ โครงการนี้เป็นโครงการที่ทาง Otteri Wash & Dry เครือข่ายร้านซักผ้ารายใหญ่ได้ร่วมมือกับมูลนิธิกระจกเงา ภายใต้โปรเจกต์จ้างวานข้า ความน่าสนใจของโครงการนี้คือการเอื้อให้เกิดการจ้างงานผู้สูงอายุที่หลุดออกจากตลาดแรงงานให้มีรายได้ และสามารถดำเนินชีวิตต่อได้อย่างสะดวกสบาย อีกทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาให้กลุ่มคนไร้บ้าน หรือกลุ่มคนวัยทำงานที่มีการเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่ทุก 3-4 วันให้มีสุขอนามัยที่แข็งแรงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น ทางบริษัทและโครงการจ้างวานข้ายังเคยจัดแคมเปญ ‘แฟชั่นสัญจร’ งานอีเวนต์ที่เปิดให้คนไร้บ้านได้เข้ามาช้อปเสื้อผ้ามือสองฟรีคนละ 1 ชุด มีห้องอาบน้ำและรถซักผ้าเคลื่อนที่ไว้คอยบริการ อีกทั้งยังมีการเปิดรับสมัครพนักงานในโครงการจ้างวานข้าเพิ่มเพื่อให้คนที่สนใจสามารถทำงาน มีรายได้ และมีโอกาสที่จะกลับสู่ชีวิตที่สามารถมีบ้านหรือห้องเช่าได้อีกครั้ง เรียกได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาคนไร้บ้านอย่างครบวงจร อย่าง We Chef Thailand เป็นแพลตฟอร์มสำหรับผู้ประกอบการ Food Truck ในประเทศไทยที่ผลักดันให้ผู้ประกอบการทุกคนสามารถทำมาหากินและเติบโตได้ โดยไม่ต้องรอออกร้านเฉพาะงานอีเวนต์ ไม่ใช่แค่การประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมให้ฟู้ดทรักมีคนรู้จักมากขึ้น แต่ยังมีการมองหาพื้นที่ที่เดิมทียังไม่มีประโยชน์ในกรุงเทพฯ มาต่อยอดเพื่อสร้างเป็นแหล่งค้าขายของฟู้ดทรักอีกด้วย เป็นการสร้างระบบนิเวศให้วงการฟู้ดทรักไทยได้เติบโตโดยไม่ต้องพึ่งพิงแค่โอกาส แต่สามารถเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวัน ไปอยู่ตามปั๊มน้ำมัน มีโอกาสที่จะได้พบเจอผู้คนมากยิ่งขึ้น ธุรกิจที่เน้นตามโลกให้ทันเป็นเรื่องปกติของธุรกิจที่ต้องตามโลกและตามเทรนด์ให้ทัน ในกรุงเทพฯ ตอนนี้ก็มีธุรกิจใหม่ๆ ที่เน้นการตามเทรนด์ให้ทันที่น่าสนใจไม่น้อย อย่างธุรกิจแรกที่จะมาพูดถึงเลยคือธุรกิจการสร้างคน อย่าง School of Changemakers ธุรกิจเพื่อสังคมที่สนับสนุนนักสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยรวบรวมคนที่มีความสนใจในแง่ปัญหามิติต่างๆ ของสังคม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องการเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ปัญหาเรื่องความรุนแรงและความเท่าเทียมทางเพศ หรือปัญหาสิ่งแวดล้อม มาพูดคุยและสร้างโมเดลแคมเปญ รวมถึงโครงการต่างๆ หาแนวทางการแก้ปัญหาในอนาคตร่วมกัน หรืออย่าง TasteBud สตาร์ตอัปไทยที่สนใจปัญหาการบริโภคอาหารของโลกและปัญหาสิ่งแวดล้อม เลยนำมาสู่การสร้าง future food หรือการผลักดันให้เกิดระบบนิเวศอาหารของมนุษย์ที่เป็นมิตรและยั่งยืนกับโลกมากยิ่งขึ้น โดยใช้หลักการทำงานของ BIO Tech และ food tech ควบคู่กันไป มีการจับมือกับเครือข่ายที่สำคัญและสร้างโปรแกรมให้ผู้คนได้เปิดใจและเปิดกว้างเรียนรู้เกี่ยวกับ future food อาหารแห่งอนาคตยิ่งขึ้นทางด้านธุรกิจแฟชั่นเองก็ไม่น้อยหน้า Loopers เป็นแพลตฟอร์มธุรกิจที่มีสโลแกนสำคัญว่า ‘Slow Fashion’ ซึ่งตรงข้ามกับโลกแฟชั่นส่วนใหญ่ที่มีลักษณะเป็น fast fashion ตามเทรนด์แบบสุดๆ ที่เป็นแบบนี้ ทาง Loopers เล็งเห็นปัญหานี้และต้องการแก้ปัญหาเรื่องทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและแรงงานในอุตสาหกรรมแฟชั่น แพลตฟอร์มของพวกเขาจึงเป็นตัวกลางสนับสนุนให้เกิดการซื้อ-ขายเสื้อผ้ามือสองให้แก่ผู้ที่สนใจ เริ่มทำงานกันตั้งแต่ต้นน้ำอย่างการรวบรวมจากมือคนขาย การสำรวจและโพสต์รายละเอียดเสื้อผ้าขายแบบละเอียดไม่ต่างจากมือหนึ่ง ไปจนถึงการส่งของให้ถึงมือของลูกค้าผู้อยู่ปลายทาง หลักการทำงานของแพลตฟอร์มคือเน้นให้คนเข้าถึงการซื้อ-ขายได้ง่ายและสะดวกสบาย เช่นนี้ตลาดเสื้อผ้ามือสองในประเทศไทยจึงเติบโตได้ง่ายขึ้น ขณะที่ทรัพยากรต่างๆ ในธรรมชาติก็จะถูกดูดดึงมาใช้งานน้อยลงนี่เป็นเพียงตัวอย่างของโมเดลธุรกิจสมัยใหม่ที่น่าสนใจในปัจจุบันที่ส่งผลน่าสนใจกับเมือง เชื่อว่าอ่านมาถึงตรงนี้ ทุกคนน่าจะมีไอเดียที่น่าสนใจกันแล้ว อย่าลืมมาแชร์กันได้ที่งาน Bangkok Design Week 2023 ปีนี้ธีม urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี มาร่วมสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองในฝันของทุกคนกัน แล้วเจอกันในงานนะ–Bangkok Design Week 2023urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี4-12 February 2023#BKKDW2023#BangkokDesignWeek#urbanNICEzation
NICE FOR CULTURE ‘เป็นมิตรที่ดีต่อวัฒนธรรม’
NICE FOR CULTURE ‘เป็นมิตรที่ดีต่อวัฒนธรรม’ไม่แช่แข็งวัฒนธรรม ด้วยพลังซอฟต์พาวเวอร์เมืองเป็นแหล่งที่รวมหลากหลายความคิดและหลากหลายวัฒนธรรมเอาไว้ด้วยกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงบริบททางสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองเป็นอย่างดี บางคนอาจคิดว่าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจนั้นขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์และนโยบายทางเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่รู้หรือไม่ว่าวัฒนธรรมเองก็เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ช่วยฟื้นฟูปัญหาทางเศรษฐกิจและก่อให้เกิดการหมุนเวียนรายได้ในท้องถิ่น เพราะสามารถเป็นสินค้าส่งออกที่เข้มแข็งและน่าสนใจ เพียงพอที่จะผลักดันให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ได้เช่นเดียวกัน! ดังนั้น urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดีต่อวัฒนธรรมในฝันของเราทุกคน จึงควรเป็นพื้นที่ที่เปิดกว้างให้ทุกวัฒนธรรมได้แสดงฝีมือที่แท้จริง เปิดโอกาสให้ผู้คนในเมืองสามารถมีส่วนร่วมในการแสดงออกหรือชื่นชมวัฒนธรรมต่างๆ โดยไม่แช่แข็ง สามารถศึกษาและปรับวัฒนธรรมต่างๆ เพื่อต่อยอดแรงบันดาลใจได้ มีทั้งวัฒนธรรมเก่าดั้งเดิมให้ปกป้องดูแลและศึกษาต่อยอด วัฒนธรรมใหม่และวัฒนธรรมรอง หรือคำว่า Soft power ที่รู้จักกัน หยิบมาสร้างสรรค์ให้เป็นสิ่งที่น่าสนใจและสร้างมูลค่าต่อ ซึ่งวันนี้ Bangkok Design Week 2023 ก็อยากชวนทุกคนมาดูว่ามีไอเดียอะไรที่น่าสนใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่เคยเกิดขึ้นในเมืองเราไปแล้วบ้าง กลุ่มคนกลุ่มเล็กๆ ในไทยกลุ่มไหนที่ต่อยอดกิจกรรมด้านวัฒนธรรมกันอย่างน่าสนใจ เผื่อจะได้รับแรงบันดาลใจไปสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้กรุงเทพฯ กัน! ผลักดันเพลงไทยสู้กระแสวัฒนธรรมเพลงต่างประเทศ การมาของ T-Pop เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นจริงๆ เมื่อยักษ์ใหญ่ของอุตสาหกรรมและผู้คนทั้งโลกออนไลน์และออฟไลน์หันมาให้ความสนใจและผลักดันให้เกิดศิลปินเดี่ยวหน้าใหม่เกิร์ลกรุ๊ปและบอยแบนด์สัญชาติไทยกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเหล่าศิลปินอย่าง 4EVE, PiXXiE, PROXIE, ATLAS, MATCHA หรือ ALLY รวมถึงรายการที่ให้ศิลปินไทยแนวป๊อปมาปล่อยของอย่าง T-Pop Stage ขึ้นมาด้วย ก่อให้เกิดวัฒนธรรมแบบ T-Pop ที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างมาก และด้วยการแข่งขันเรื่องคุณภาพ ก็ยิ่งทำให้กระแสนี้ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม ทำให้มีโอกาสที่กระแสวัฒนธรรม T-Pop นี้ต่อยอดเป็นสินค้าส่งออกต่างประเทศด้วย ไม่ใช่แค่เพลงป๊อปที่เป็นกระแสหลักจะได้รับการสนับสนุนอย่างเดียว เพลงไทยนอกกระแสก็ยังมี Fungjai หรือ ฟังใจ คอมมูนิตี้ที่คอยสนับสนุนนักร้องและวงดนตรีด้วยการจัดคอนเสิร์ตและรูปแบบกิจกรรมทั้งออฟไลน์และช่องทางออนไลน์ต่างๆ ด้วยความคาดหวังว่าจะสามารถทำให้ผู้คนเข้าถึงการเสพดนตรีแปลกใหม่ด้วยใจที่เปิดกว้าง ถ้าใครสนใจอยากลองเปิดประสบการณ์ดนตรีใหม่ๆ ให้หูตัวเองก็สามารถแวะเวียนเข้าไปฟังได้ที่ https://www.fungjai.com/home นอกจากนั้นยังมีกลุ่ม Hear and Found ที่ให้ความสำคัญกับเพลงท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์พิเศษของแต่ละภูมิภาคหรือแต่ละชุมชน ด้วยการสนับสนุนวัฒนธรรมดนตรีชาติพันธุ์ ก่อให้เกิดเป็นธุรกิจที่นำเพลงท้องถิ่นมาต่อยอดให้คนทั่วไปสามารถสนับสนุนในการซื้อลิขสิทธิ์ มีการสร้าง library เอาไว้สำรวจและศึกษาทำความรู้จักท่วงทำนองอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชาติพันธุ์ได้ ใครที่สนใจอยากลองศึกษาก็สามารถเข้าไปสำรวจกันได้ที่ https://hearandfound.comสร้าง Route ใหม่ สร้างประสบการณ์ใหม่ประสบการณ์เดินทางของเราเวลาไปเที่ยวเมืองต่างๆ มักจะอยู่ที่การวางแผนว่าจะไปเยี่ยมชมสถานที่ไหนบ้าง เพราะฉะนั้นการสร้าง route ท่องเที่ยวใหม่ขึ้นมาก็เหมือนเป็นการสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบใหม่ให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมอย่าง route ที่มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนานและช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวหลายประเทศให้มาเที่ยวใจกลางเมืองของกรุงเทพฯ คือ 8 Shrines Route ราชประสงค์ เป็นการรวบรวมการเดินทางสำหรับสายบุญและสายมูเตลูทั้งหลายเอาไว้ในแมปเดียว แถมยังมีตำราบอกวิธีการไหว้เสร็จสรรพ ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ถึง 8 แห่งภายในย่านเดียว เรียกได้ว่านอกจากจะดึงให้แต้มบุญย่านนั้นสูงขึ้นทั่วถึงแล้ว ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจร้านอาหารและห้างสรรพสินค้าละแวกนั้นได้เป็นอย่างดี หนึ่งใน route ที่น่าสนใจมากๆ ในกรุงเทพฯ ของเราที่หลายคนยังไม่ทราบคือ Pathumwan Art Route นั่นเอง เป็นโครงการในความร่วมมือของพื้นที่ทางศิลปวัฒนธรรมในเขตพื้นที่ปทุมวัน ที่สร้างแผนที่เดินทางผ่านหลากหลายมิวเซียมและชุมชนที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร อย่าง bacc, Yelo House, Jim Thompson House Museum ชุมชนมุสลิมบ้านครัวที่เป็นแหล่งผ้าทอมือและสถาปัตยกรรมท้องถิ่นโบราณ และ FAAMAI Dome ที่กำลังจะมีแผนเปิดให้ผู้คนสามารถเข้าชมกิจกรรมและศิลปะแบบดิจิทัลอาร์ตได้ในอนาคต เรียกได้ว่าเป็นการชักชวนให้ทุกคนไปลองฮอปปิ้งชื่นชมบรรยากาศทางศิลปะ วัฒนธรรม การสัมผัสวิถีชีวิตดั้งเดิม ไปจนถึงงานศิลปะโมเดิร์นล้ำสมัยเลยทีเดียว นำวัฒนธรรมดั้งเดิมไปต่อยอดในโลกดิจิทัล! ณ ปัจจุบันด้วยช่องทางออนไลน์และความสะดวกสบายแบบคลิกเดียวเข้าถึงได้ทุกอย่างตามแบบฉบับโลก 4G ทำให้เกิดคอมมูนิตี้และการรวมกลุ่มมากมายที่ผลักดันและต่อยอดวัฒนธรรมแบบแปลกใหม่บนแพลตฟอร์มดิจิทัล การเติบโตของวัฒนธรรมแขนงนี้แทบไม่มีขีดจำกัดเลยทีเดียว อย่าง SoundKoh Collective ก็เป็นการขยับตัวอย่างน่าสนใจ เมื่อค่ายดนตรีนำ blockchain มาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน ด้วยการทำแพลตฟอร์ม The Sandbox นำเสนอค่ายในโลกออนไลน์ให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมสร้างงานเพลงต่างๆ ร่วมกัน และนำผลงานไปขายเป็น NFT เพื่อกระจายผลงานและนำรายได้กลับมาสนับสนุนส่งเสริมศิลปินอิสระต่างๆ Thai Ghost ก็เป็น NFT อีกอันที่ไม่พูดถึงไม่ได้ เพราะเป็นการเอาผีไทยมาผสมผสานกับเรื่องเล่าตำนานทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ก่อนแล้ว เพื่อเพิ่มความน่าสนใจและมูลค่าในตัวงานศิลปะ เช่น ผีตาโขน collection หรือ ผีแรร์ไอเทมสำหรับนักสะสม หรืออย่าง YAKYAKs ก็เป็น NFT ไทยที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากวรรณคดีเก่าแก่อย่างรามเกียรติ์ ผสมกับดีไซน์แบบมินิมอล และแนวคิดแบบยุค Ethereum (2984) ทำให้เกิดผลงานที่น่าสนใจเป็นที่น่าจับตามองของนักลงทุนจะเห็นได้ว่าการทำงานต่อยอดเชิงวัฒนธรรมนี้ทำได้หลากหลายมากๆ ขึ้นอยู่กับทักษะและความสนใจในพื้นเพเดิมของผู้คนว่าสนใจอยากหยิบเรื่องไหนมาพัฒนา ชื่นชอบเรื่องอาหารก็สามารถผลักดันเกี่ยวกับอาหารได้ ชื่นชอบงานศิลปะก็สามารถสร้างงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเมืองได้เช่นกัน การที่ตัวเมืองเปิดกว้างให้มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย ยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนตามเวลา และเข้าถึงได้ง่าย ก็เหมือนส่งเสริมให้ผู้คนสามารถเข้าถึงแหล่งขุมทรัพย์แห่งแรงบันดาลใจและปัญญา ที่ผู้คนในเมืองสามารถพัฒนาสร้างสีสัน สร้างชีวิตชีวาให้แก่เมือง และเกิดความสร้างสรรค์แบบใหม่ได้ไม่สิ้นสุด–Bangkok Design Week 2023urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี4-12 February 2023#BKKDW2023#BangkokDesignWeek#urbanNICEzation
NICE FOR MOBILITY 'เป็นมิตรที่ดีต่อคนเดินทาง'
NICE FOR MOBILITY ‘เป็นมิตรที่ดีต่อคนเดินทาง’เคลื่อนปัญหาระบบขนส่งด้วยการเริ่มเปลี่ยนแปลงเรื่องเล็กๆชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองย่อมเกี่ยวพันกับเรื่องการเดินทางและระบบขนส่งภายในเมือง ยิ่งระบบขนส่งสะดวกสบายและเข้าถึงง่ายมากเท่าไร คุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยก็ยิ่งดีขึ้นเท่านั้น ธีมในปีนี้ของ Bangkok Design Week 2023 อย่าง urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี จึงให้ความสำคัญอย่างมากกับไอเดียสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางของคนเมืองให้สะดวกสบายและปลอดภัย รวมถึงการสร้างประสบการณ์การเดินทางรูปแบบใหม่ที่ง่ายสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนป้ายสัญลักษณ์ของรถขนส่งสาธารณะ การจัดการทางเดินเท้าให้สวยงาม การตรวจสอบเส้นทางให้ง่ายต่อการเดินทาง ไปจนถึงการผลักดันให้เกิดระบบขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือใช้พลังงานสะอาดมากขึ้นในกรุงเทพฯถึงระบบการขนส่งจะเป็นปัญหาระดับโครงสร้างที่ต้องการฟันเฟืองตัวใหญ่อย่างหน่วยงานต่างๆ ช่วยผลักดัน แต่ในฐานะคนธรรมดาและฟันเฟืองตัวเล็กๆ ก็ใช่ว่าเราจะร่วมกันคิดและแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เลย วันนี้เลยอยากมาแนะนำเหล่านักสร้างสรรค์ หรือกลุ่มคนที่ตัดสินใจสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อแก้ปัญหาการเดินทางในกรุงเทพฯ ให้ทุกคนมีประสบการณ์การเดินทางที่ดีมากยิ่งขึ้นMayday ผลักดันขนส่งสาธารณะ แก้ปัญหาหัวใจหลักเพื่อคนกรุงเทพฯระบบขนส่งแบบใหม่เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดิน และรถขนส่งที่บริการผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ แต่รถเมล์ที่ผู้คนทุกระดับชั้นใช้ในการเดินทางก็ยังคงเป็นหัวใจหลักที่เมืองต้องให้ความสำคัญและพัฒนา แต่จากที่ใช้ชีวิตกัน ทุกคนคงทราบดีว่าเส้นทางและป้ายสัญลักษณ์การเดินรถของรถเมล์นั้นมีความเข้าใจยากและจำเป็นต้องใช้ความคุ้นชินในท้องที่สูง ถึงจะเดินทางได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เหตุการณ์ที่เราขึ้นรถเมล์แล้วไม่แน่ใจว่าเลือกเส้นทางได้ถูกต้องไหม พอจะอ่านป้ายศึกษาก่อนขึ้นก็มีข้อมูลไม่ค่อยครบถ้วน กลุ่มคนที่รักรถเมล์และระบบขนส่ง และเชี่ยวชาญในด้านพัฒนาผังเมืองอย่าง Mayday จึงตัดสินใจเข้ามามีส่วนร่วมและใช้ไอเดียในการขับเคลื่อนประเด็นนี้เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงระดับต้นที่ทีมงานได้พัฒนาป้ายข้อมูลเส้นทางการเดินรถไว้ที่ป้ายรถเมล์ และทำสติกเกอร์เส้นทางการเดินรถไว้ที่ตัวรถเมล์ เป็นข้อมูลภาพ (Infographic) ที่เป็นมิตร เข้าถึงง่าย อ่านเข้าใจได้ทุกเพศทุกวัย ผลักดันความสำคัญของการปรับปรุงรถสาธารณะเพื่อรองรับผู้คนที่มีงบประมาณการเดินทางจำกัด ไปจนถึงปัจจุบันที่เพจทำหน้าที่เป็นพื้นที่ในช่องทางออนไลน์ช่วยแจกจ่ายข้อมูลเส้นทางการเดินรถเมล์ที่สนุกสนานให้ผู้คนเห็นความสำคัญและหันไปเดินทางด้วยรถเมล์มากยิ่งขึ้น รวมถึงการเล่าข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการให้บริการหรือรูปแบบต่างๆ ของขนส่งสาธารณะในเมืองกรุงเทพฯ โดยพวกเขามีสโลแกนว่า Small Change, Big Move เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่ดีในทุกๆ วัน ไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหน จะสามารถทำให้วันหนึ่งคนกรุงเทพฯ ทุกคนสามารถเข้าถึง ‘ขนส่งสาธารณะ’ ได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่ง Mayday กลายเป็นตัวอย่างของการลงมือทำอย่างมุ่งมั่นของคนตัวเล็กๆ ที่ผลักดันทำให้ภาครัฐนำงานออกแบบไปใช้จริง จนกลายเป็นป้ายรถเมล์ที่เราเห็นกันอย่างทุกวันนี้Wayfinding Bangkok นักสำรวจป้ายเพื่อทุกคนWayfinding Bangkok เป็นเพจนักสืบป้ายที่ชอบพาทุกคนไปสำรวจป้ายในเส้นทางต่างๆ ของกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็นตามสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ท้องถนน หรือแม้กระทั่งในห้างสรรพสินค้า เป็นการชี้ให้เห็นถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขสนุกๆ เพื่อให้เพื่อนร่วมถนนทุกคนได้รับประสบการณ์การเดินทางที่ดีขึ้น โดยนำทักษะด้านการทำภาพกราฟิกเข้ามาเป็นเครื่องมือ ทั้งยังช่วยแนะนำและบอกเล่าเส้นทางการเดินทางให้แก่ผู้ที่สนใจ รวมถึงคนรุ่นใหม่ที่ยังไม่เคยใช้บริการขนส่งสาธารณะต่างๆ อีกด้วย ซึ่งในทางกลับกันเรื่องที่เพจหยิบมานำเสนอ บางทีก็ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เห็นปัญหา และมาร่วมแก้ไขไม่มากก็น้อยUDDC ผู้ปลุกไอเดีย ‘เมืองเดินได้ เมืองเดินดี’หน่วยงาน UDDC หรือ Urban Design and Development Center ทำหน้าที่เป็นภาคีที่เชื่อมโยงเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญและนักพัฒนาเมืองทุกท่านมาร่วมศึกษาปัญหาและพัฒนาผังเมืองไปด้วยกัน เพราะเชื่อว่าการฟื้นฟูเมืองเป็นภารกิจสำคัญของทุกคน และสิ่งที่ UDDC ให้ความสำคัญมาก นั่นคือการทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่เป็นมิตรกับผู้คนเดินเท้ามากยิ่งขึ้น โดยหนึ่งในโครงการที่ทำคือ ‘Good Walk’ หรือ ‘เมืองกรุงเทพฯ เมืองเดินได้ เมืองเดินดี’ หวังเอาชนะปัญหาที่คนเมืองกำลังเผชิญอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคมนาคมขนส่ง การจราจรติดขัด รวมถึงขีดความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ติดกับดักรายได้ปานกลาง และสามารถช่วยส่งเสริมให้เกิดย่านเศรษฐกิจใหม่ๆ การท่องเที่ยวและฟื้นฟูวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่นขึ้นมาทดแทนกลยุทธ์ของ UDDC คือการออกแบบให้เกิดพื้นที่นำร่องย่านเดินได้-เดินดีขึ้นมาก่อน นั่นคือ อารีย์-ประดิพัทธ์, ทองหล่อ-เอกมัย และ กะดีจีน-คลองสาน เพราะเนื้อแท้ล้วนเป็นย่านที่มีศักยภาพทางสภาพแวดล้อมและกายภาพแต่เดิมที นอกจากนั้นเพื่อให้เกิดการปฏิบัติได้จริงยังวางแผนการประสานภาคีเครือข่ายต่างๆ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกระดับของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นประชาชน ภาคเอกชน หรือภาครัฐ เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อนำไปสู่การเกิดพื้นที่ที่สามารถเดินเท้าได้อย่างยั่งยืนต่อไปRabbit Crossing ดูแลและผลักดันกฎหมายทางข้ามเพื่อความปลอดภัยประเทศที่ให้ความสำคัญกับ ‘รถ’ มากกว่า ‘คนข้าม’ มักหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดอุบัติเหตุรุนแรงต่างๆ ที่บริเวณทางข้าม หรือบนท้องถนน หนึ่งในเหตุการณ์อันน่าเศร้าที่ครอบครัวและผองเพื่อนต้องเผชิญหน้ากับการสูญเสียคนรัก อย่างคุณหมอกระต่าย-พญ.วราลัคน์ จากอุบัติเหตุรถชน ทำให้เพื่อน #หมอกระต่าย ตัดสินใจที่จะรวมกลุ่ม Rabbit Crossing เพื่อทำหน้าที่ผลักดันกฎหมายทางข้าม สนับสนุนให้เกิดทางม้าลายที่ปลอดภัยอย่างแท้จริงขึ้นในสังคม และสร้างวินัยการจราจรที่เข้มแข็งขึ้นมา หวังส่งเสริมให้ทุกคนกำกับตัวเองอย่างมีสติ และขับขี่โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้คนที่อยู่ตามท้องถนนนอกจากนั้นในเพจยังมีระบบรับแจ้งทางม้าลายที่ไม่ปลอดภัยด้วย เพราะปัญหาเล็กๆ แบบนี้อาจก่อให้เกิดความสูญเสียที่ใครก็ไม่อยากเจอได้ ดังนั้นไม่ว่าเราจะเป็นใคร แต่หากเจอกับทางข้ามที่ดูอันตราย หรือสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ต่างๆ ก็สามารถแจ้งเข้าไปให้ Rabbit Crossing ช่วยประสานดูแลได้ทันที เรียกว่ามีประโยชน์ต่อสังคมมากๆ เลยยานพาหนะทางเลือก ทางออกของคนเมืองและสิ่งแวดล้อมปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการคมนาคมขนส่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมในเมืองได้เช่นกัน นั่นจึงทำให้ปัจจุบันมีหลายกลุ่ม ทั้งประชาชน ภาคเอกชน และหน่วยงานต่างๆ ที่ช่วยกันผลักดันให้เกิดยานพาหนะที่ใช้พลังงานสะอาดกันมากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่อุตสาหกรรมและบุคคลหนึ่งในนั้นคือแพลตฟอร์ม Muvmi บริการรถตุ๊กๆ ไฟฟ้าที่เรียกได้ผ่านแอปพลิเคชัน ยานพาหนะที่มาให้บริการจะเป็นรถไฟฟ้าพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แถมยังเป็นระบบ Ridesharing system รถจะแวะรับคนที่ต้องการไปในเส้นทางเดียวกันกับเรา ถึงจะเพิ่มเวลาของผู้เดินทางนิดหน่อย แต่ลดต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมไปได้เยอะมาก นอกจากนั้นระบบแชร์แบบนี้ยังช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าของผู้เดินทางได้อีกด้วยหรืออย่าง ETRAN สตาร์ตอัปรุ่นใหม่ที่พัฒนาและผลิตยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานสะอาดขึ้นในประเทศไทย ใช้สโลแกนว่า Drive The Better World โดยตั้งใจให้ทุกคนสามารถมีประสบการณ์การขับขี่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เครื่องยนต์รองรับการนำไปใช้ในเชิงการทำงานและอุตสาหกรรม อีกทั้งยังราคาไม่สูงเพราะต้องการสนับสนุนให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตประจำวันแบบคิดคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น แถมยังมีจุดบริการ ETRAN Power Station ที่เปิด 24 ชั่วโมงเพื่อดูแลเรื่องของการเปลี่ยนแบตเตอรี่ ไม่ต้องเสียเวลารอชาร์จ สามารถเปลี่ยนแบตก้อนใหม่เพื่อวิ่งต่อได้ในทันที การเปลี่ยนแปลง ระบบขนส่งสาธารณะและปัญหาการจราจรต่างๆ ในกรุงเทพฯในพริบตาเดียวอาจเกิดขึ้นได้ยาก แต่หากร่วมมือกันสร้างความเปลี่ยนแปลงทีละน้อยย่อมต้องสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อการเดินทางของคนเมืองขึ้นมาได้แน่นอน ซึ่งผู้อาศัยอย่างเราทุกคนก็สามารถช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการคิดค้นไอเดียใหม่ๆ หรือสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาการเดินทางทั้งหลายให้ทุกคนสามารถมีเมืองที่เดินทางได้ดีขึ้นได้เช่นกันถ้าใครคิดไม่ออกก็เริ่มง่ายๆ จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางของตัวเอง ลองสำรวจปัญหาและพื้นที่รอบๆ ด้วยการเดินเท้าและขับขี่อย่างปลอดภัย เข้าร่วมคอมมูนิตี้ที่สนใจประเด็นนี้เพื่อหาแนวร่วม หรือถ้าต้องการไอเดียเพิ่มเติมก็สามารถมารับชมกันได้ที่งาน Bangkok Design Week 2023 ธีม urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี ที่จะถึงนี้เลย รับรองมีแรงบันดาลใจ มีทางแก้ปัญหาแบบใหม่แน่นอน–Bangkok Design Week 2023urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี4-12 February 2023#BKKDW2023#BangkokDesignWeek#urbanNICEzation
“เมืองดี-ชีวิตดี สร้างได้”
“เมืองดี-ชีวิตดี สร้างได้”ชวนสำรวจ 6 โปรเจกต์สนุกทั่วโลกที่พิสูจน์ว่า เมือง-มิตร-ดี สร้างได้ สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมรอบข้างล้วนเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการหล่อหลอมและเติบโตของมนุษย์ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ ‘เมือง’ จะมีผลทั้งทางบวกและทางลบกับความสุขและการเติบโตของคนเมือง ปัจจุบันการที่ผู้คนต่างย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานในเมืองหลวงหรือเมืองสำคัญมากขึ้น ทำให้คนเมืองเริ่มพบเจอกับปัญหาความวุ่นวายเร่งรีบ รวมถึงความขาดแคลนบางอย่าง แต่ไม่ใช่ว่าปัญหาเหล่านี้จะถูกแก้ไขไม่ได้ซะเลย วันนี้จะชวนสำรวจ 6 โปรเจกต์ทั่วโลก ซึ่งเป็นโปรเจกต์ที่สนุกและท้าทาย เน้นการปรับปรุงปัญหาและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ภายในเมือง เจาะลึกและแก้ไขปัญหามิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการขนส่ง หรือแม้กระทั่งปัญหาด้านเศรษฐกิจชุมชน ทั้งหมดเกิดขึ้นจากความร่วมมือกันแก้ปัญหาของผู้คนตัวเล็กๆ และหน่วยงานน้อยใหญ่ในระดับต่างๆ พิสูจน์ให้เห็นว่าทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการสร้างเมืองเป็นมิตร อยู่แล้วแฮปปี้ได้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันว่าโปรเจกต์เหล่านี้ พวกเขาลงมือสร้างความเปลี่ยนแปลงกันได้อย่างไรบ้างProject 1 : Solar-Powered Farmers Market ตลาดสดที่ยิงนกตัวเดียวได้ทั้งสิ่งแวดล้อมที่ดีและพลิกฟื้นเศรษฐกิจชุมชน โปรเจกต์ตลาด Grower’s Market นี้อยู่ที่เมือง Albuquerque ในประเทศ New Mexico โดยปกติตลาดชุมชนหรือ Farmers Market เกิดขึ้นก็เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนสนับสนุนเกษตรกรหรือผู้ค้ารายย่อยในชุมชนใกล้เคียง อีกทั้งยังเน้นที่การบริโภคแต่พอดี เลือกใช้ของสดใหม่ตามฤดูกาล การที่เมืองมีตลาดลักษณะนี้เป็นการเปิดพื้นที่ให้ชาวบ้านหารายได้ พัฒนาธุรกิจรายย่อยของตัวเอง นำไปสู่การเกิดแหล่งท่องเที่ยวได้ท้ายที่สุด ตลาดนี้ไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เรื่องเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่สร้างประโยชน์มหาศาลด้านสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งหมดโดยใช้แค่พลังงานธรรมชาติ อย่างพลังงานแสงอาทิตย์เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์คิดเงินไปจนถึงอุปกรณ์เพื่อความบันเทิงอย่างลำโพงและเครื่องเสียงประกอบเวทีต่างๆ แถมยังมุ่งมั่นลดขยะพลาสติกหรือขยะบรรจุภัณฑ์ด้วยการออกนโยบายให้ลูกค้าสามารถนำถุงผ้า หรือ บรรจุภัณฑ์สำหรับการใส่สินค้ามาที่ร้านได้เอง อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับจุดบริการจอดรถและอำนวยความสะดวกของลูกค้าที่ใช้จักรยานโดยเฉพาะ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จักรยานแทนการขับรถยนต์มาที่ตลาด เรียกได้ว่าแก้ปัญหาทั้งเรื่องเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมได้อย่างครบถ้วน Project 2 : Oslo เมืองที่ให้ความสำคัญกับระบบการขนส่งสีเขียวการแก้ปัญหาแบบร่วมมือจากคนตัวใหญ่สู่คนตัวเล็กต้องเกริ่นก่อนว่าในปี 2019 ออสโล เมืองหลวงของนอร์เวย์ก็เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจนได้รับเลือกให้เป็นเมืองสีเขียวของภูมิภาคยุโรปแล้ว แต่หลังจากที่ได้รับเลือกรัฐบาลยิ่งจริงจังกับการพัฒนาเมืองให้สอดคล้องกับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงเชิงอุตสาหกรรมหรือภาพใหญ่ในสังคม ลดผลกระทบที่คาร์บอนไดออกไซด์มีต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสู่เมืองไร้พิษอย่างสมบูรณ์ในปี 2050 ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่ออสโลให้ความสำคัญมากคือการผลักดันระบบขนส่งให้ Eco-Friendly มากที่สุด มีการออกนโยบายสนับสนุนให้คนเลิกใช้รถส่วนตัวหรือ หันมาใช้รถไฟฟ้าแทน และระบบขนส่งสาธารณะก็ปรับเปลี่ยนยกเครื่องใหม่เพื่อลด Digital Footprint ต่างๆ ให้มากที่สุด เพราะเหตุนี้จึงเกิด GreenCharge ในออสโล เป็นสถานีชาร์จไฟที่เกิดจากความร่วมมือในหลายภาคส่วนและหลายเมืองของยุโรป พุ่งเป้าให้จุดชาร์จไฟนี้กลายเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานของประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะภายในอพาร์ตเมนต์หรือลานจอดรถสาธารณะ แหล่งไฟฟ้าจะมาจากพลังงานธรรมชาติอย่างแสงอาทิตย์และการจ่ายไฟฟ้าสาธารณะ และในอนาคตไม่ถึง 10 ปีนี้ ออสโลกำลังจะปรับเปลี่ยนแท็กซี่สาธารณะทุกคันให้กลายเป็นรถแท็กซี่ไฟฟ้าที่สามารถชาร์จงานแบบไร้สายได้ด้วย นอกจากนี้รัฐบาลยังผลักดันให้เกิดการปรับพื้นที่บางส่วนในเมืองเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการเดินเท้าของผู้คนแทนรถยนต์อีกด้วย เต็มไปด้วยพื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจและพื้นที่สำหรับกิจกรรมทางวัฒนธรรม เปิดให้จักรยานและรถขนส่งสาธารณะเท่านั้นที่เข้าพื้นที่ย่านใจกลางเมืองได้ ก่อเป็นแรงกะเพื่อมสู่คนในเมือง ให้สามารถเดินเท้าใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ แข็งแรงขึ้นจากการออกกำลังกาย แต่ก็ยังเข้าถึงระบบขนส่งต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบายเช่นเดิมProject 3 : Restart Project จัดการขยะดิจิทัลแบบ “don’t despair, just repair!” โปรเจกต์ที่ทำความเข้าใจบริบทอออนไลน์และดีลกับขยะอิเล็กทรอนิกส์หนึ่งในประเภทขยะที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในปัญหาสิ่งแวดล้อมมากๆ ทั่วโลกช่วงหลังก็คือขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่เพิ่มมากขึ้นตามการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ของประชากรโลก แต่ขณะเดียวกันความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะเหล่านี้อย่างถูกวิธีนั้นน้อยมาก บางคนเมื่อต้องการทิ้งก็โยนทิ้งเฉยๆ โดยไม่นึกถึงการนำกลับมาเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์แง่อื่น จุดบอดตรงนี้ทำให้เกิดโปรเจกต์ Restart Project ที่ประเทศอังกฤษขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา Restart Project เป็นแคมเปญที่เกิดในปี 2013 จากพลังของเหล่าบุคคลธรรมดาในลอนดอนที่รู้สึกว่าภูเขาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่กำจัดไม่ได้กำลังจะกลายเป็นปัญหาสังคมขนาดใหญ่ พวกเขาอยากสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลในชุมชนแบบใหม่ ที่ผู้คนไม่ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์เพียงเพราะชำรุด แต่ซ่อมเพื่อนำกลับมาใช้ หรือ สร้างความสัมพันธ์ สร้างสิ่งของแบบใหม่ขึ้นมาทดแทน โดยเขาเริ่มทำงานจากการเปิดสอนในชุมชนเล็กๆ ทีละชุมชนเพื่อขยายความรู้ความเข้าใจ สร้างมุมมองใหม่ให้คนเมืองได้เห็นประโยชน์ของชิ้นส่วนเล็กๆ พวกนี้ และมีความมั่นใจที่จะนำวัฒนธรรมแบบใช้ซ้ำ หรือ รีไซเคิลมาใช้ในชีวิตกันมากยิ่งขึ้น ตอนนี้กลุ่ม Restart Project ก็ขยายตัวใหญ่เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร โดยในปี 2018 มีนักเคลื่อนไหวเพื่อการซ่อมแซมเข้าร่วมเป็นสมาชิกประจำเพื่อการสอนถึง 59 ราย ที่สำคัญคือพวกเขาไม่ได้จำกัดพื้นที่การทำงานอยู่ภายในอังกฤษเท่านั้น แต่ยังจับมือกับเครือข่ายนักเคลื่อนไหวเพื่อการซ่อมแซมในประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อเปิดอีเวนท์ซ่อมแซมพร้อมให้ความรู้ ไม่ว่าจะเป็น อิตาลี สเปน สวีเดน หรือ นิวซีแลนด์ หลักการทำงานไม่ได้โฟกัสเฉพาะในประเทศใหญ่ๆ แต่ให้ความสำคัญกับการไปให้ความรู้ในเมืองเล็กๆ ด้วยเช่นกัน เพราะเชื่อว่าตราบใดที่คนเราเรียนรู้ที่จะซ่อมแซมสิ่งของ ยืดอายุการใช้งานขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้ โลกก็จะปลอดภัยจากปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น Project 4 : Rainbow Village ไทจง จากหมู่บ้านทหารผ่านศึกสู่แลนด์มาร์คอันดับหนึ่ง! สุดยอดความคิดสร้างสรรค์ Make over บ้านเกิดให้เป็นแหล่งเศรษฐกิจไอเดียบรรเจิดนี้เกิดขึ้นจากบุคคลคนเดียว นั่นคือคุณปู่ชาวไต้หวัน หวง หย่ง ฟู่ (Huang Yung-Fu) ที่เริ่มเห็นว่าหมู่บ้านทหารผ่านศึกในพื้นที่ห่างไกลที่ตัวเองอยู่นั้นเริ่มเงียบเหงาและทรุดโทรม เพราะคนวัยทำงานเริ่มย้ายถิ่นฐานไปสู่ย่านเศรษฐกิจมากขึ้น นายทุนเริ่มต้องการซื้อและทุบทำลายหมู่บ้านนี้เพื่อปรับปรุงใช้ประโยชน์จากพื้นที่ แต่คุณปู่คิดว่าหมู่บ้านนี้ควรถูกอนุรักษ์และสามารถสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นย่านเศรษฐกิจใหม่ๆ ได้ คุณปู่ใช้ความสามารถทางศิลปะและเวลาว่างทุกวันเพื่อวาดรูปและระบายสีสันสดใสบนกำแพง แรกเริ่มแค่บ้านของเขาเพื่อแสดงเจตจำนงการรักษาบ้านเอาไว้ แต่หลังจากที่เพื่อนบ้านเห็นก็สนับสนุนให้คุณปู่ระบายสีบ้านทุกหลังที่เหลืออยู่ให้สวยเหมือนกันไปเลย สุดท้ายเหตุการณ์นี้ก็นำมาสู่การที่คุณปู่สามารถรักษาบ้านและพื้นที่เหลืออยู่ได้สำเร็จ และไม่ใช่ในนามของหมู่บ้านอันรกร้างทรุดโทรม แต่เป็นในนามของ ‘หมู่บ้านสายรุ้ง’ Rainbow Village ที่ถือว่าเป็นพื้นที่อนุรักษ์ทางวัฒนธรรมด้วย นอกจากนั้นสถานที่นี้ยังกลายเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่ป๊อปที่สุดในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ก่อให้เกิดการต่อยอดธุรกิจเชิงท่องเที่ยว รวมถึงร้านสินค้าและงานศิลปะในชุมชนต่างๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต Project 5 : The Goods Line สวนที่เพิ่มพื้นที่สร้างสรรค์เชื่อมคนในเมืองไว้ด้วยกันส่งเสริมการเกิดชุมชนและสีสันในเมือง ด้วยการสร้าง Creative Space ประโยชน์จัดเต็ม ‘คนเมืองมักเงียบเหงาและห่างเหินกว่าคนชนบท’ เหตุที่เรามักคิดแบบนั้นเป็นเพราะการใช้ชีวิตอยู่ในเมืองมักจะส่วนตัวและต่างคนต่างอยู่มากกว่า ดังนั้นเมืองสมัยใหม่จึงมักมีโปรเจกต์ที่ผลักดันและเอื้ออำนวยให้ผู้คนมีพื้นที่สังสรรค์เปิดกว้างด้านกิจกรรมและวัฒนธรรม เพิ่มโอกาสในการรวมกลุ่มสร้างคอนแนคชั่นและเพิ่มสีสันให้กับชีวิต ไม่ให้คนเมืองรู้สึกโดดเดี่ยวหรือเหี่ยวเฉามากไปนัก นั่นคือไอเดียสำคัญในโปรเจกต์ The Goods Line เมือง Sydney ประเทศออสเตรเลีย ที่ปรับปรุงพื้นที่เลียบทางรถไฟรกร้างเสียใหม่ ให้กลายเป็นสวนและพื้นที่สาธารณะของคนเมือง โดยสร้างโครงสร้างพื้นฐานแบบจัดหนักจัดเต็ม ไม่ว่าจะเป็นที่นั่งสำหรับการพูดคุย ไวไฟฟรีสำหรับการทำงานและสังสรรค์ สนามเด็กเล่นที่รองรับเด็กเล็ก ไปจนถึงการโซนสำหรับการเล่นกีฬาและกิจกรรมสันทนาการของคนทุกช่วงวัย กลายเป็นพื้นที่สำหรับความสร้างสรรค์เหมาะกับการจัดกิจกรรมและเทศกาลต่างๆ ผู้คนสามารถพักผ่อนหย่อนใจ หรือ ชักชวนกันมาสร้างกิจกรรม ก่อให้เกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้ที่สวนแห่งนี้ เรียกว่าเพิ่มความน่าอยู่ของเมืองและต่อยอดพัฒนาได้แบบไม่รู้จบ โครงการนี้จึงไม่ใช่แค่การสร้างสรรค์พื้นที่ที่ถูกลืมเสียใหม่เท่านั้น แต่เป็นการสร้างพื้นที่สาธารณะขึ้นมาเพื่อ Connect ผู้คนในเมืองด้วยเช่นกัน Project 6 : Superkilen สถานที่ที่โอบรับทุกความหลากหลาย Space ใจกลางเมืองที่เกิดมาเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องความต่างทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม จะดีกว่ามั้ย ถ้าในเมืองของเรามีพื้นที่ที่สอนให้คนโอบอุ้มและเข้าใจความสวยงามในความแตกต่างหลากหลายของมนุษย์และทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย นี่คือประโยชน์ของโปรเจกต์ Superkilen ในเมือง Copenhagen ประเทศเดนมาร์ก ที่สร้างและดีไซน์พื้นที่สาธารณะกลางเมืองความยาวกว่าครึ่งไมล์เพื่อแสดงให้ทุกคนเห็นถึงไอเดียที่ว่า “ความงดงามในความแตกต่าง” แท้จริงเป็นอย่างไร ในพื้นที่สีชมพูแดงสีสันสะดุดตานั้นจะมีการจัดวางสิ่งของต่างๆ อย่างชาญฉลาด โดยเป็นการนำ 60 ชิ้นงานดีไซน์จากหลากหลายเมืองบนโลกที่มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่แตกต่างกัน มาสร้างพื้นที่พักผ่อนและเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม โดยเน้นเป็นงานศิลปะแบบเซอร์เรียลที่ผู้คนสามารถจับต้องและสัมผัสได้ทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น นำต้นปาล์มพันธุ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศจีนมาตกแต่ง มีการจัดแสงไฟนีออนแบบฉบับกาตาร์ตามตึกรอบข้างต่างๆ ม้านั่งในพื้นที่ดังกล่าวก็เป็นม้านั่งที่คุ้นชินจากเมืองลอสแองเจอลิส ทั้งหมดก็เพื่อให้ผู้คนในเมืองเข้าถึงและเห็นความสวยงามของการผสมผสานทางด้านวัฒนธรรม กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในประเทศอื่น นี่เป็นเพียง 6 ตัวอย่างของเมืองและพื้นที่ที่มีการพัฒนาอย่างน่าสนใจ สามารถช่วยแก้ปัญหามิติต่างๆ ภายในเมืองได้ เชื่อว่าใครหลายคนน่าจะพอเห็นภาพและมีไอเดียคร่าวๆ แล้วว่าจะนำมาปรับใช้หรือออกแบบกรุงเทพฯ ของเราอย่างไรได้บ้าง อย่าลืมส่งเสียงมาบอกกันได้ที่งาน Bangkok Design Week 2023 ที่จะถึงนี้น้า มาช่วยกันสร้าง ‘เมือง-มิตร-ดี’ ในฝันของทุกคนกัน –Bangkok Design Week 2023urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี4-12 February 2023#BKKDW2023#BangkokDesignWeek#urbanNICEzation
ประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมจัดเทศกาลฯ
Bangkok Design Week ขอบคุณนักสร้างสรรค์ทุกท่านที่สนใจสมัครเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเทศกาลงานออกแบบฯ เพื่อขับเคลื่อนวงการออกแบบและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้เติบโตไปด้วยกันรายชื่อผู้เข้าร่วมจัดเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566Exhibition (การจัดแสดง)พื้นที่ของเทศกาลฯ (Festival Venue)‘carpenter27JUNE STUDIOA morning picturesARCANEBenxbluesBicogurtBK{O}KbluebangkokBOB the nice guyCenter of Research and Design innovation service ( CRDIS ) CERCACIDI x LASUNYAcloudideaconsciousCPAC Green SolutionCreative Economy Agency (CEA)Dar Research StudioDeesawatDesignPLANTDesign & Objects AssociationDigital Circular Economy platformDomestic+City UnitEquity Partnership’s School Network productFashswuFive Clapfulltimememogade & The Paper JourneyGLISTENGlivingHIMLYA Cotton IFAimmertech xkitt.ta.khonKLAB studioLEENONLighting Designers Thailand lightinghouse Live Life DetaillukyangMarionsiam MazedoniaMobella x Anssilmobella x Chaipattana MOHo studioMORENadiaNEWVIEWNikken SekkeiOne BangkokOriental StudioPATAPiANPATRAPORNPATTANI DECODEDpcholiPDMBRANDPerfectly DefectedPhayanchanaPoeng firePORANApraan.studioPrimary WorkshopPTTPUENDAETPumpumQUALY x HARV x LMLMRenim ProjectResearch and Innovation for Sustainability Center (RISC)SALETESalt and Pepper StudioSARNSARD STUDIOSemiotic ArchitectsSirraSpace Saloon + The MaakSpirulina SocietySTALLIONSStories of SilverStudio TermiteSTUX2 Supernude StudioTaiwan Design Research InstituteTASTEBUD LABTermtem studioThai perfumersThailand Policy LabUrban (this) abilityUrbanyardUselessland.comVirginia Commonwealth University School of the Arts in Qatarwanhaan x bariyard.ioWISDOMATIVEYawaYEAR NOWช้างกระโดดลงแก้วบริบุญบ้าน-พึ่ง-พลา(ส)พอแล้วดี THE CREATOR l Artists – Crafters – Designers พัสตราภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อนบ้านอารีย์สมาคมบอร์ดเกมอิสรภาพพื้นที่ของตนเอง (Own Space)ออนไลน์เท่านั้นHAXMIT Urban Risk Labเจริญกรุง-ตลาดน้อยJTKT Co., Ltd.Koyoyi Project 2022Major&Jorie design and researchNo BrandPitakRosslynSilestone by CosentinoVenzWISHULADAเท็นฟิงเกอร์สามย่าน-สยาม1559 GalleryAssumption UniversityBoss Lab Board GameCUArt4CSarattaSungkrohsangอารีย์-ประดิพัทธ์BEARHOUSEOGGO Co.,LtdPeople of Ari SMMทองหล่อ-เอกมัยKenkoonLonely Soul Club Podcastพระนคร-นางเลิ้งLOU HIEB SENGจรจัดสรร Stand for StraysUrban Ally คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรย่านอื่นๆBANGPHO WOOD STREETCreative MigrationGreydient LabHouse of PassaMade In Soul by SarranPlay SpaceShmaStreetArt +DrusumphatThe Silence ProjectUrban Studies Labverbคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนืออภินิหารตลาดพลู_________Event (อีเว้นท์)พื้นที่ของเทศกาลฯ (Festival Venue) blind stopCHANGE By CEAEDeaf: Education for the DeafFerment MarketGood VibesSATARANASAMMAKORNSound Scapeสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยพื้นที่ของตนเอง (Own Space)เจริญกรุง-ตลาดน้อยHaroon CommunityTCCFกลุ่มคนรักตลาดน้อยอารีย์-ประดิพัทธ์Ari Weekend Market AriAroundพระนคร-นางเลิ้งcommutinyHumans of Flower Marketย่านอื่นๆSUPH art spaceUS_________Talk (เสวนา)พื้นที่ของเทศกาลฯ (Festival Venue)Domus AcademyDigital Circular Economy platformMIT Urban Risk LabNABA Seize The DayTASTEBUD LABWizards of LearningYEAR NOWพอแล้วดี THE CREATOR l Artists – Crafters – Designers Design Research Dayคุณจนัธ เที่ยงสุรินทร์ คุณรันดา อดุลเดชจรัสคุณสราวุธ กลิ่นสุวรรณคุณพีรัช ษรานุรักษ์คุณสุมิตตา พุทธศรีสังข์คุณพิชชานันท์ วิมลวรวิทย์คุณอัญญาวี เจริญธนากิตคุณกมลวรรณ์ ชูแก้วคุณจุฑามณี โกศลธนากุลคุณประกาศกิจ อนันต์เลิศสกุล และคุณเจษฏากร มะลิวรรณ์ คุณณัฐพร เทพรัตน์ พื้นที่ของตนเอง (Own Space)ย่านอื่นๆCreative Migration_________Workshop (เวิร์กชอป)พื้นที่ของเทศกาลฯ (Festival Venue)CHECQO.CROSSWALK XDieHIMLYA Cotton Humeme studioLUKYANGLunabunOmkoi Lacquer Craft.pcholiPOP UP STOOLQUALY x HARV x LMLMSaladsil StudioTanakrit Talks JazzTiger cf Workshop TYUdomkati Brewing AcademyWISDOMATIVEพื้นที่ของตนเอง (Own Space)เจริญกรุง-ตลาดน้อยArt Jamming workshop by PopzhengDe-Coff : Deconstruction of Coffee กาแฟ ร่ม ป่าF.VMaLet’s CafeNEWVIEWPhotohostel & PhotocafePhotohostel & PhotocafeToday at AppleWhy is the River Laughing?สามย่าน-สยามDeadline Always ExistsQUT X CUToday at Appleทองหล่อ-เอกมัยBUNKAFASHIONSCHOOLย่านอื่นๆBigbangpun บิ๊ก แบ่ง ปันCIDI WorkshopCreative MigrationCreative MigrationOKDstudioSummary.COTHAI FIT_________Tour (ทัวร์)พื้นที่ของเทศกาลฯ (Festival Venue)a dayHear & FoundI will SURVEY! room Books / บ้านและสวน Explorers ClubSarakadee LiteSarakadee LiteThe CloudTrawell Thailandจินนี่ สาระโกเศศพื้นที่ของตนเอง (Own Space)เจริญกรุง-ตลาดน้อยUDeeกลุ่มคนรักตลาดน้อยอารีย์-ประดิพัทธ์AriAroundiliUพระนคร-นางเลิ้งairchitectScholars of Sustenance Foundationย่านอื่นๆTheRootsRoutesร้านค้า และ Façade_________Music & Performing (ดนตรีและการแสดง)พื้นที่ของเทศกาลฯ (Festival Venue)Lalit, Chawin, Pawin & ParaweeLinda Vinta Mahakit MahaniranonNUMANYamaha Music School ThailandYuen Diaoคณะสุเทพฯ ทรงคือ Songkhueพื้นที่ของตนเอง (Own Space)เจริญกรุง-ตลาดน้อยWhy is the River Laughing?อารีย์-ประดิพัทธ์The dialogueย่านอื่นๆJamegolotus_________Promotion (โปรโมชัน)พื้นที่ของตนเอง (Own Space)เจริญกรุง-ตลาดน้อยSeize The DayJOJO CafeMaLet’sสามย่าน-สยามChinglian TCM Cilnic X Summary.COอารีย์-ประดิพัทธ์BEARHOUSEย่านอื่นๆVelaa Langsuan_________Market (ตลาด)พื้นที่ของเทศกาลฯ (Festival Venue)a piece of caseaircraft colaANOTHER CUPAROUND THE CREPEAssaniaunties.stuffBAGWARDBASIC TEEORYBetter MartBlue BangkokCaliiicocanyouhearcloudCASOCHECQO.ChupaletasCircularCOCO SUI.BKKCOMMADaybreak.natureweardays in and days outFABRITTFascigems GEMIO GLISTENHANDS ODORHIMLYA CottonHUH.WDUSI Know You Are HungryImluck – อิ่มรักintabrandJaroonburiJIIRAKANDAGOODSKH EDITIONSKUSUlabradorLINE PER INK STUDIOLOV-VERMarionsiamMonjeedmoonmachineoneMY FRIADYNew Road CrepeNYMPHEART (นี๊ม-ฮาร์ท)Oraclaypaahlong studiopeeti.studioPhanaPhayanchanaPHOkitchenPILYNNPlay a lotPo.loidPOP UP STOOLpraan.moodPrim x Baojai studioPurrcraftSALETEsaranae design Sarr.rai (สาหร่าย)Seize The DayShrimp&ShellSmileLikeaFlower.SmithySpirulina SocietyStories of SilverSundae KidsTASTEBUD LABTaxileatherThe MeowseumTHĒ ROOTtillyobloomtISITropical home cafe x Fishbridge brewingTropical SplashTwo in RowVENACAVAVenitawmw.___.wmwกินตาม ไอศกรีมแซนด์วิชจัดตั้งเจริญพุงโภชนาดื่มด่ำ คราฟต์โคล่า โดย ฮม โลคอลคราฟต์ลวก ล่า เมี่ยนสมาคมบอร์ดเกมสำลักยำอยู่ / เป็น / สุขพื้นที่ของตนเอง (Own Space)เจริญกรุง-ตลาดน้อยFlour LabPhotohostel & Photocafe
ผูกมิตรกับเมืองด้วย Key Visual ประจำเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566
ผูกมิตรกับเมืองด้วย Key Visualประจำเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566เมื่อสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย เราก็เริ่มเห็นผู้คนออกมาใช้พื้นที่ของเมืองกันอย่างเป็นปกติมากขึ้น Key Visual ของ BKKDW2023 ในธีม urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี เราจึงเห็นภาพผู้คนที่หลากหลาย กำลังทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันอย่างคึกคักตามพื้นที่ต่างๆ ของเมือง นัด-ณัฐพงศ์ ดาววิจิตร หรือที่รู้จักกันในชื่อ Nut Dao นักวาดภาพประกอบอิสระ ผู้ร่วมก่อตั้ง Practical School of Design และเจ้าของแบรนด์ Lig ที่เรามักเห็นภาพ ‘คน’ เป็นส่วนประกอบหลักในงานของเขาเสมอ รับหน้าที่ถ่ายทอด urban‘NICE’zation ผ่านภาพประกอบในสไตล์นัดดาว ยิ่งเมื่อรูปร่าง รูปทรง ชุดสีที่เลือกมาประกอบกันก็ยิ่งทำให้ Key Visual ในปีนี้เป็น urban ที่น่าอยู่ และ ‘NICE’ ตั้งแต่แรกเห็นโจทย์สำคัญในปีนี้คือต้องการชวนนักสร้างสรรค์หลากหลายสาขามาช่วยกันหาความเป็นไปได้ในการผูกมิตรกับเมือง Key Visual จึงเป็นเหมือนการ์ดเชิญใบสำคัญที่จะส่งไปยังหน้าบ้านของนักสร้างสรรค์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและเชิญชวนให้ออกมาเริ่มทำเมืองให้น่าอยู่ร่วมกัน เริ่มจากเข้าใจ ‘เมือง-มิตร-ดี’ การทำความเข้าใจเมือง โดยเฉพาะกับเมืองที่เป็นมิตร เป็นขั้นตอนแรกที่นัดดาวให้ความสำคัญก่อนลงมือออกแบบ “ผมเริ่มต้นจากการหานิยามของเมืองที่ดี เพื่อทำความเข้าใจว่าเมืองที่ดีต้องมีอะไรบ้าง แล้วพบว่าเมืองที่ดีไม่จำเป็นต้องมีถนนที่ใหญ่ หรือการคมนาคมอย่างเดียว แต่เมืองต้องมีความหลากหลาย มีการกระจายตัวของสิ่งอำนวยความสะดวก และคนสามารถใช้การเดินในชีวิตประจำวันไปละแวกที่ใกล้ๆ ได้โดยไม่ต้องใช้รถ“อีกประเด็นที่ทำให้เมืองโตแบบน่าอยู่ก็คือการมีพื้นที่ Mixed Use ให้คนไปใช้สเปซ จัดกิจกรรม หรือทำอะไรก็ได้ ถ้ามีพื้นที่ตรงนี้ก็ทำให้คนในเมืองไม่ต้องมีต้นทุนในการใช้ชีวิตเยอะ และผมคิดว่าหัวใจของเมืองที่สำคัญที่สุดก็คือ ‘คน’ การสร้างเมืองต้องสอดรับกับผู้คน ต้องมีคนเป็นศูนย์กลาง”แนวทางการออกแบบไดเรกชันที่ 1 และ 2 ที่นัดดาวนำเสนอในครั้งแรก ก่อนจะนำเอาข้อดีของสองเวอร์ชันมาปรับใช้กับเวอร์ชันจริงภาพเป็นมิตรด้วย ‘เมือง’ + ‘คน’เมือง-มิตร-ดี หมายถึงเมืองที่เป็นมิตรกับคน คนเป็นมิตรกับเมือง และเมืองจะน่าอยู่เมื่อมีมิตรที่ดี สามนิยามนี้คือสารตั้งต้นสำหรับการก่อร่างสร้างเมือง-มิตร-ดี“งานผมจะชอบวาดคน หรือภาพที่มีองค์ประกอบของมนุษย์อยู่แล้ว เลยคิดว่าโจทย์นี้น่าจะเหมาะกับตัวเอง ผมนำเสนอสองไดเรกชันในครั้งแรก ไดเรกชันแรกไม่พูดถึงเมืองเลย เน้นเฉพาะคนและกิจกรรมที่คนใช้ชีวิตในเมือง เพื่อใช้สะท้อนกลับไปว่า เมืองต้องมีสิ่งที่ทำให้คนเกิดกิจกรรมเหล่านี้ ถึงเป็นเมืองที่ดี “อีกดีไซน์ที่นำเสนอจะโฟกัสที่เมืองมากขึ้น เล่นกับรูปทรงของพื้นที่ Mixed Use และการวางเลย์เอาต์ของตัวอักษร โดยการสร้างพื้นที่ขึ้นมาก่อน แล้วค่อยเอาคนไปประกอบในเมือง เพื่อให้เห็นความหลากหลายในการใช้สเปซผ่านพื้นที่สาธารณะ “ซึ่งแบบไฟนอลก็เอาข้อดีของสองแบบมารวมกัน คนที่ตัวเล็กในแบบที่สองก็ถูกขยายให้เห็นกิจกรรมมากขึ้น ทำให้เห็นเมืองและเห็นคนไปพร้อมๆ กัน โดยโจทย์ที่ผมให้ความสำคัญก็คือความเป็นมิตรที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและเข้าใจงานออกแบบนี้ได้ไม่ยากจนเกินไป”ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบส่วนตัวหรือคอมเมอร์เชียล ผลงานภาพประกอบของนัดดาวก็มักจะมีภาพคนเป็นองค์ประกอบให้ได้เห็นอยู่เสมอ‘คน’ หัวใจของเมือง-มิตร-ดีเมืองคงเคลื่อนไปแบบไร้ชีวิตหากขาด ‘คน’ ซึ่งเป็นหัวใจของ ‘เมือง’ นัดดาวตั้งใจออกแบบคาแรกเตอร์เพื่อสะท้อนถึงพลเมืองทุกคน และบอกเล่าถึงมิตรภาพระหว่างผู้คนในเมืองผ่านองค์ประกอบในงานออกแบบ “ผมให้ความสำคัญกับคาแรกเตอร์ที่มีความหลากหลาย อยากให้ภาพนำเสนอทั้งผู้พิการ ผู้สูงอายุ เด็ก นักธุรกิจที่มาจอยกัน โดยพยายามใช้รูปร่าง รูปทรง ที่เชื่อมหรือทับซ้อนกันเพื่อเปรียบเปรยถึงการอยู่ร่วมกัน ทั้งความสัมพันธ์ของคนสองคนหรือเป็นกลุ่มคน “บางเชปก็ใช้ดอกไม้มาเป็นหัวบ้าง มาเป็นตัวของคนบ้าง ความไม่เหมือนจริงทำให้เราสามารถเล่นสนุกกับอีกเลเยอร์ของความหมายได้ ผมพยายามมิกซ์ส่วนประกอบต่างๆ ในเมืองไว้ด้วยกัน”แบบสเกตช์คาแรกเตอร์คนในเมืองที่เขาทดลองใช้เส้นหลายรูปแบบเพื่อสร้างลักษณะของผู้คนที่มีความแตกต่างกันแต่อยู่ร่วมกันได้เป็นมิตรด้วยสีโทนเย็นสีเป็นอีกองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยสร้างความสดชื่นและทำให้เมืองเป็นมิตรขึ้น “พอนึกถึงเมืองที่ดีก็จะนึกถึงพื้นที่สีเขียว ซึ่งเป็นสีที่สบายตา ภาพรวมของงานจึงออกเป็นโทนสีเขียว แต่นอกเหนือจากความหมายเรื่องเมืองเป็นมิตรแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความเด่นชัดเมื่อต้องนำไปใช้สื่อสารในงานสิ่งพิมพ์ งานป้าย และงานออนไลน์ด้วย ผมเลยเพิ่มสีเขียวสดเข้ามาอีกสี ส่วนสีอื่นๆ เช่น สีฟ้า สีเขียวตุ่นก็เป็นการเพิ่มน้ำหนักของสีอื่นๆ เข้ามาเพื่อทำให้ภาพรวมดูกลมกลืน ไม่กวนสายตามากเกินไป”ตัวอักษรซ่อนย่านย่านสร้างสรรค์ที่เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ BKKDW ในปีนี้ขยายขอบเขตออกไปอีกหลายพื้นที่มากขึ้น นัดดาวจึงออกแบบ Key Visual โดยตั้งใจซ่อนความเป็นย่านนั้นๆ เอาไว้อย่างช่างคิด“BKKDW2023 มีการจัดงานในหลายย่านทั่วกรุงเทพฯ ผมจึงออกแบบโดยคำนึงถึงการนำไปใช้สื่อสารแต่ละย่านด้วย ซึ่งแต่ละย่านมีจุดเด่นที่ทับซ้อนกัน ถ้าจะดึงบางสถานที่มาเป็นตัวแทนทั้งย่านก็อาจจะทำให้สื่อสารยาก เลยเลือกใช้ตัวอักษรย่อจากชื่อของย่านนั้นๆ แล้วมาตัดทอนแบบตัวอักษร จัดองค์ประกอบร่วมกันกับสเปซและสี ซึ่งเชปตัวอักษรที่ถูกย่อจะถูกซ่อนเอาไว้ คนดูอาจจะมองไม่เห็นในทีแรก แต่ถ้าเห็นแล้วก็จะเห็นไปตลอด”เมืองจะน่าอยู่ เพราะเราทุกคนนอกจากการใช้งานกราฟิกเพื่อสื่อสารให้คนจดจำภาพของ Bangkok Design Week 2023 แล้ว เทศกาลฯ และนัดดาวยังเห็นตรงกันว่าการทำให้เมืองน่าอยู่เป็นเรื่องของทุกคน และเราสามารถทำให้เมืองดีขึ้นได้จากการลงมือทำเรื่องเล็กๆ เพื่อส่งแรงกระเพื่อมไปยังการเปลี่ยนแปลงในภาพใหญ่ “อยากให้ Key Visual ในปีนี้แสดงภาพกว้างที่เห็นถึงความหลากหลายของผู้คนโดยหวังว่าคนที่เห็นรู้สึกได้ถึงการมีส่วนร่วมแม้จะเป็นเพียงหน่วยย่อยเล็กๆ ก็มีความสำคัญในภาพใหญ่”–Art Director & Illustrator: Nuttapong Daovichitr (Nut)Assistant: Ployjaploen Paopanlerd (Bamie)Graphic Designer: Nayada Sangnak (Da)–Bangkok Design Week 2023urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี4-12 February 2023#BKKDW2023#BangkokDesignWeek#urbanNICEzation
Presentation Day ชวนมิตรมาทำเมืองให้ NICE
เพราะเมืองเปลี่ยนแปลงไม่ได้ด้วยใครคนใดคนหนึ่ง Bangkok Design Week 2023 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีหน้าจึงมองหามิตรมาช่วยสร้างสรรค์เมืองร่วมกันวันที่ 15-16 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกที่ทีมจัดเทศกาลฯ จัด “BKKDW 2023 Presentation Day วันนำเสนอแนวคิด” ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจร่วมจัดเทศกาลฯ ได้นำเสนอไอเดียแบบตัวต่อตัว รับฟังคำแนะนำที่เป็นประโยชน์จากผู้เชี่ยวชาญและทีมจัดเทศกาลฯ ร่วมกันระดมไอเดีย ค้นหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโปรแกรมสร้างสรรค์ให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งโปรแกรมที่มีความโดดเด่น สอดคล้องกับแนวคิดในธีม urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี จะได้รับการพิจารณารับการสนับสนุนจากเทศกาลฯ ในด้านเงินสนับสนุน และคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อผลักดันให้โปรแกรมเกิดขึ้นได้จริง บรรยากาศตลอดทั้งสองวันเต็มเปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่นของนักสร้างสรรค์หลากหลายสาขา ที่ตั้งใจใช้ศักยภาพที่แต่ละคนมีในการพัฒนาเมืองให้ดียิ่งขึ้น ตอกย้ำว่า กรุงเทพฯ มี ‘มิตร’ มากมาย ที่พร้อมขับเคลื่อนเมืองไปข้างหน้าด้วยกัน พบกับโปรแกรมที่ดีต่อเมืองเหล่านี้ได้ในเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ 2566Bangkok Design Week 2023urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี4-12 February 2023#BKKDW2023#BangkokDesignWeek#urbanNICEzation
urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี คืออะไร?
urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี คืออะไร?‘เมือง’ หรือ ถิ่นที่อยู่อาศัย เป็นหนึ่งสิ่งที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของคนเมืองแบบไม่พูดถึงไม่ได้ การจัดการหรือออกแบบเมืองที่ดีย่อมทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกแฮปปี้มีความสุขในชีวิตมากขึ้น แต่เมื่อเมืองยิ่งพัฒนา หรือ ก้าวตามความเจริญของโลกไปเท่าไร การขยายตัวในแง่ประชากรและความเจริญต่างๆ กลับกลายเป็นโจทย์ใหญ่ที่เหล่าคนเมืองต้องหาทางสร้างสมดุลและจัดการให้ได้ขึ้นมา แต่ถึงจะท้าทายและยากอย่างไร ก็เชื่อว่าไม่เหนือบ่ากว่าแรงไอเดียความคิดสร้างสรรค์และฝีไม้ลายมือของเหล่านักสร้างสรรค์ของไทยแน่นอน ปีนี้งาน Bangkok Design Week 2023 เลยอยากชวนทุกคนมาถกเถียงและจินตนาการกันว่า เราจะทำเมืองกรุงเทพฯ ให้กลายเป็นเมืองที่ urban‘NICE’zation หรือเป็น เมือง-มิตร-ดี เมืองที่น่ารัก เป็นมิตรต่อทั้งผู้อยู่อาศัยและผู้ประกอบการสาขาอาชีพต่างๆ รวมถึงเราสามารถหาทางแก้ปัญหามิติต่างๆ หรือ ผลักดันให้เกิดธุรกิจสร้างสรรค์และเศรษฐกิจหมุนเวียนในกรุงเทพฯ อย่างไร โดยอาศัยหลักการสร้างเมืองที่เป็นมิตรกับคน และสร้างคนที่เป็นมิตรกับเมือง ก่อให้เกิดเป็นความร่วมเมืองอันดีจากทั้งสองฝ่าย ระหว่างบุคคลที่เป็นฟันเฟืองตัวเล็กและกลไกจากรัฐและหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นฟันเฟืองตัวใหญ่ ร่วมกันขับเคลื่อนสร้างทางออกไปด้วยกันซึ่งปีนี้เราได้ออกแบบและตีความคำว่า ‘เมือง-มิตร-ดี’ เอาไว้ว่าต้องตอบโจทย์มิติทางสังคมได้ทั้ง 6 มิติ นั่นคือ มิติทางสิ่งแวดล้อม มิติเรื่องการขนส่งสาธารณะ มิติการผลักดันและอนุรักษ์วัฒนธรรม มิติธุรกิจและเศรษฐกิจ มิติความเป็นอยู่ของชุมชน และสุดท้ายมิติความหลากหลายในสังคมเป็นมิตรที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม (Nice for Environment) เป็นเมืองอย่างไร?ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยแรกๆ ที่ต้องนึกถึงเสมอในฐานะคนรุ่นใหม่และคนเมือง คุณภาพมลพิษทางอากาศและทางน้ำ รวมถึงปัญหาขยะพลาสติกล้นเมืองกลายเป็นสิ่งที่เราทุกคนสามารถสัมผัสและพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการผลักดันให้เกิดความเป็นมิตรทางสิ่งแวดล้อม รวมถึง Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียนได้นั่น เป้าหมายก็เพื่อสร้างพื้นที่สาธารณะเพิ่มขึ้นให้คนเมือง แก้ปัญหามลพิษทางอากาศและพลังงานต่างๆ เน้นการสร้าง Carbon Footprint ให้น้อยลงทั้งในแง่ปัจเจกบุคคลและแง่อุตสาหกรรม สามารถให้ผู้ที่อาศัยในเมือง รวมถึงสัตว์ตัวเล็กที่ปะปนในเมืองใหญ่สามารถใช้ชีวิตกันได้อย่างมีสมดุลและมีความสุขมากขึ้นเป็นมิตรที่ดีต่อการเดินทาง (Nice for Mobility) เป็นเมืองอย่างไร?โครงสร้างสาธารณูปโภคอย่างการขนส่งสาธารณะเป็นส่วนที่สำคัญกับปัจจัยความสุขคนเมืองเป็นอย่างมาก เพราะการเดินทางเป็นหนึ่งในวิถีชีวิตสำคัญ โดยเฉพาะช่วงวัยเรียนและวัยทำงานที่ต้องหาเช้ากินค่ำ เชื่อว่าประเด็นนี้ร้อยทั้งร้อยคนกรุงเทพต้องยกมือส่งเสียงว่าเห็นด้วยแน่นอน โจทย์ที่ท้าทายของปีนี้คือการริเริ่มไอเดียและหาทางแก้ไขผลักดันให้ระบบขนส่งสาธารณะในเมือง รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางต่างๆ ให้เข้าถึงง่ายและสะดวกสบายต่อผู้คนยิ่งขึ้น การสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อการเดินทางจะเริ่มจากส่วนที่ผู้คนต้องพบเจอทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการทางเท้า ระบบสัญญาณไฟและการจราจรและยานพาหนะ รวมถึงการออกแบบป้ายและสัญลักษณ์ต่างๆ ให้ดีและส่งเสริมความปลอดภัยยิ่งขึ้น ไปจนถึงการออกแบบและพัฒนาเพื่อสร้างประสบการณ์การเดินทางแบบใหม่ให้คนกรุงเทพเป็นมิตรที่ดีต่อวัฒนธรรม (Nice for Culture) เป็นเมืองอย่างไร?การส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงในประเทศไทยมายาวนาน แต่ใน ‘เมือง-มิตร-ดี’ ของเรานั้น ความเป็นมิตรทางวัฒนธรรมจะไม่ใช่เพียงแค่การอนุรักษ์วัฒนธรรมแบบดั้งเดิม หรือ ปกป้องวัฒนธรรมที่เสี่ยงต่อการสูญหายเพียงอย่างเดียว แต่เป้าหมายคือให้ความสำคัญและผลักดัน Soft power ประเภทต่างๆ ในเมืองเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น ดังนั้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ต่างๆ รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆ จะถูกนำมาใช้เพื่อปรับวัฒนธรรมชุมชนและท้องถิ่นให้เข้ากับยุคสมัย ต่อยอดให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่ๆ รวมถึงการงอกเงยให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์หรือย่านเศรษฐกิจชุมชนที่น่าสนใจเป็นมิตรที่ดีต่อธุรกิจ (Nice for Business) เป็นเมืองอย่างไร?ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันรายได้หลักของประเทศไทย รวมถึงเมืองกรุงเทพฯ นั้นส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่การมาถึงของโควิด-19 ที่ผ่านมาเริ่มสอนให้ผู้ประกอบการ รวมถึงนักสร้างสรรค์เองเห็นถึงความสำคัญในการสร้างและผลักดันให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ดีต่อการลงทุนและเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น เป้าหมายในการทำ ‘เมือง-มิตร-ดี’ ของเราจึงเกี่ยวข้องกับการสร้างให้กรุงเทพเป็นเมืองที่ดึงดูดใจนักลงทุน และสามารถสร้างผลที่ดีให้เกิดในตลาดแรงงานของประเทศได้ ที่สำคัญคือการให้ความสำคัญกับการผลักดันแพลทฟอร์มธุรกิจในโลกออนไลน์และโครงสร้างเมืองที่เอื้ออำนวยกับการทำการตลาดของคนรุ่นใหม่ด้วยเป็นมิตรที่ดีต่อชุมชน (Nice for Community) เป็นเมืองอย่างไร?ชุมชนเป็นหน่วยย่อยเล็กที่สุดของเมืองก็จริง แต่นับว่าเป็นจุดสำคัญที่สุดในการสร้างเมืองที่ดี ต่อให้โครงสร้างจะเอื้ออำนวยอย่างไร แต่ก็ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาคนในเมืองเช่นกัน เพราะเมืองจะพัฒนาให้ดีขึ้นไม่ได้เลย ถ้าชุมชนไม่มีความสุขหรือไม่เข้มแข็ง ปีนี้เราเลยจะมุ่งสู่การสร้างแนวคิดสร้างคนให้เป็นมิตรกับเมือง พร้อมกับยกระดับชีวิตคนเมืองไปด้วยกัน จะเกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของชุมชน การให้ความสำคัญกับพื้นที่กิจกรรมและพื้นที่ศิลปะ ก่อให้เกิดการพัฒนาความรู้และทักษะต่างๆ คนในเมืองจะได้มีทั้งความสุข สุขภาพและความปลอดภัยในถิ่นที่อยู่อาศัยของตนเองเป็นมิตรที่ดีต่อทุกความหลากหลาย (Nice for Diversity) เป็นเมืองอย่างไร?พื้นเพของเมืองกรุงเทพฯ นั่นเป็นเมืองที่มีความหลากหลายอยู่แล้ว อีกทั้งยังเปิดกว้างในการพูดถึงเรื่องความหลากหลายอยู่ตลอด แต่จะดียิ่งขึ้นไปอีก ถ้าเราสามารถทำให้เมืองดูน่ารักและเป็นมิตรต่อความหลากหลายได้มากยิ่งขึ้น โดยริเริ่มความคิด สร้างนวัตกรรมหรือผลักดันให้เกิดโครงสร้างทางสังคม รวมถึงสิ่งต่างๆ ที่ช่วยเอื้ออำนวยความสะดวกให้เหมาะกับผู้คนทุกช่วงวัยอย่างแท้จริง เหมาะกับคนทุกเพศสภาพ ทุกเงื่อนไขของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นคนพิการ หรือ คนเปราะบางในสังคมก็ล้วนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขหลายคนพออ่านมาถึงตรงนี้ก็น่าจะตื่นเต้นและพอจะวาดฝันถึงกรุงเทพฯ ที่เป็นมิตรได้แล้ว อย่าลืมว่าการเปลี่ยนแปลงสามารถเริ่มได้ที่ตัวเราด้วย ทุกคนสามารถมีส่วนช่วยเปลี่ยนให้กรุงเทพฯ เป็นมิตรขึ้นได้ตั้งแต่วันนี้ ใครอยากเริ่ม มาเริ่มด้วยกันผ่านงานเทศกาล Bangkok Design Week 2023 นี้ได้เลย ช่วยกันคนละไม้คนละมือ รับรองว่าความสร้างสรรค์ที่ดีพร้อมกับความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่เข้มแข็งจะสามารถผลักดันให้กรุงเทพฯ ของเราไนซ์ขึ้นกว่านี้ได้แน่นอนBangkok Design Week 2023urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี4-12 February 2023#BKKDW2023#BangkokDesignWeek#urbanNICEzation